วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2 วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2
 วันจันทร์ ที่  25 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.

เนื้อหาการเรียนสอน ความรู้ที่ได้รับ


ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


Annareno 1973 ได้จัดหมวดหมู่การเคลื่อนไหวตามลักษณะ ของการเคลื่อนไหวพื้นฐานดังนี้
1. การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
การเคลื่อไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ้ง การกระโดด เป็นต้น
การเคลื่อไหวแบบไม่เคลื่อนที่ เช่น การดัน การบิด การเหยียดเป็นต้น
2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี เป็นต้น
การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ การหยุดเป็นต้น

Sapore and mitehell 1961 ไดเแบ่งการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน หมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การวิ่ง เป็นต้น
2. การเคลื่อนไหวเสริม หมายถึง การเคลื่อนไหวที่พัฒนาภายหลังจากการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น การพูด การพิม เป็นต้น

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น

  • เมื่อได้ยินจังหวะดังแน่นหนัก เด็กอาจจะนึกถึงการเดินแถวแบบทหาร
  • เมื่อได้ยินจังหวะที่เบาๆและช้าๆ เด็กอาจจะนึกถึงเสียงของใบไม้ที่ต้องลม

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง 

  • การเล่นประเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี
  • การเล่นเกมส์ต่างๆของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า
  • การเต้นรำพื้นเมือง

เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง

  • การเคลื่อนที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กจะรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

  • การเดิน
  • การวิ่ง
  • การกระโดเขย่ง
  • การกระโจน
  • การกระโดดสลับเท้า
  • การสไลด์
  • การควบม้า

การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย

  • การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างนึง เด็กต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและมากน้อยเพียงใด เด็กจะต้องฝึกหัดให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพและร่างกาย

บริเวณและเนื้อที่

  • การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่นหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการเนื้อที่บริเวณที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งตลอดเวลา บริเวณเนื้อที่จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหว เวลาเด็กเคลื่อนไหวเด็กสามารถจัดระยะระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้

ระดับการเคลื่อนไหว

  • ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น จำปรากฎแต่ความจำเจซ้ำซาก ไม่น่าดู การเคลื่อนไหว มีสามระดับ สูง กลาง ต่ำ 

ทิศทางของการเคลื่อนไหว

  • การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปรอบทิศ ถ้าไม่ได้รับการฝึกไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว
การฝึกจังหวะ แบ่งออกเป็น 4 วิธี
1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว


วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหว 

1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความเครียด
3.ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน
4.ฝึกความเป็นผู้นำ
5. พัฒนาทักษะด้านสังคม และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น


การเตรียมร่างกาย

1. ให้รู้จักส่วนต่างๆของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหว
2. ขณะเคลื่อนไหว การฝึกให้เโ้กรู้ตัวว่าร่างกายส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวอยู่

ตัวอย่างการเตรียมร่างกาย
1. ให้เด็กแตะสัมผัสส่วสต่างๆของ่รางกาย
2.  ให้เด็กลองสำรวจร่างกายดูว่า ส่วนใดเอนเอียงโค้งงอ หมุนได้มากน้อยเพียงใด
3. ให้เด็กชี้ตามส่วนต่างๆของร่างกายทีละส่วนอย่างรวดเร็ว


ข้อเสนอแนะ

1. ควรยึดหลักการจัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบตัวเองได้มากที่สุด
2.ผู้เลี้ยงดูเด็กควรยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายของเด็กและให้โอกาสเด็กได้ฝึก
3. อาจเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แทนผู้เลี้ยงดูเด็ก
4. ในขณะที่เด็กทำกิจกรรม หรือทำกิจกรรมเสร็จแล้วพี่เลี้ยงควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิด
5. ช่วงระยะเวลาที่จัดกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม

แนวทางการประเมิน 

1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน
3. สังเกตท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
  • สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน
  • สามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ

ประเมิน 


ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ไม่ส่งเสียงดัง มี่ส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังอาจารย์ จดบันทึกสิ่งที่สำคัญ ไม่ส่งเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ แต่งกายสุภาพ พูดจาชัดเจน สนออย่างเข้าใจ มีกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น