วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4 วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์และ วันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 08.30-11.30 น.


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 08.30-11.30น.

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 08.30-11.30 น.




วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 08.30-11.30น.

เนื้อหาการเรียนการสอน

ความรู้ที่ได้รับที่ได้รับ

สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย

สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัยว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
  3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
  4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
  5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ความสำคัญ คือ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง และครูปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจเกี่บวกับเด็กปฐมวัยมากขึ้นสร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็ก

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย

1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย 

 การเคลื่อนไหว
1) การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้ (3 ขวบ)
- กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ (4 ขวบ)
- วิ่งแบบก้าวกระโดด (5 ขวบ)
2) การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 
- วาดรูปวงกลมตามรูปตัวอย่าง (3 ปี)
- วาดรูปสี่เหลี่ยมตามรูปตัวอย่าง (4 ปี)
- วาดรูปสามเหลี่ยมตามรูปตัวอย่าง (5 ปี)
3) ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
- รินน้ำจากขวดใส่ถ้วยหรือขันโดยไม่หก(3 ปี)
- รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง(4 ปี)
- จัดวางสิ่งของหรือวัสดุซ้อนหรือต่อกันให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามตัวอย่างที่ตั้งให้ดู(5 ปี)
 สุขภาวะทางกาย
1) โภชนาการ
- มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร (4 ปี)
- บอกได้ว่าอาหารใดไม่ควรกิน  (5 ปี)
2) สมรรถนะทางกาย
- ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง (3ปี)
- หิ้วของ แบกของ หนักประมาณ 1 กิโลกรัม ในระยะทางสั้น ๆ (4ปี)
- วิ่งติดต่อกันในระยะทาง 400 – 500 เมตร (5ปี)
3) ความปลอดภัย
- รู้จักถือของแหลมหรือมีคมทุกชนิดอย่างปลอดภัย โดยไม่วิ่ง  (3 ปี)
- บอกผู้ใหญ่หรือเตือนเพื่อนเมื่อเห็นเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย (4 ปี)
- บอกเลขหมายโทรศัพท์เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (5 ปี)
4) การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง
- รู้จักแปรงฟันด้วยตนเอง (3 ปี)
- อาบน้ำและทำความสะอาดตนเองได้ (4 ปี)
- ล้างมือ / มือที่เปื้อนและก่อนกินอาหารได้เอง (5 ปี)

(2) พัฒนาการด้านสังคม

 การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
- ทักทาย พูดคุยถามตอบกับผู้ใหญ่โดยมีผู้ใหญ่ช่วย (3 ปี)
- รู้จักปรับน้ำเสียงและความดังตามสถานการณ์ต่าง ๆ (5 ปี)
- ถ่ายทอดข้อความที่ได้รับจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ถูกต้อง (4 - 5 ปี)
 การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
- ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับเพื่อน  (3 ปี)
- ยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อน (3 ปี)
- ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนจนกิจกรรมนั้นแล้วเสร็จ (4 ปี)
- ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่ (5 ปี)
พฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคม
- แบ่งปันกับเพื่อน และผลัดกันเล่นโดยมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือแนะนำ (3 ปี)
- ปลอบเมื่อเห็นเพื่อนเจ็บหรือไม่สบายใจ (4 ปี)
- บอกได้ว่าการกระทำของตนเองมีผลต่อความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างไร (5 ปี)
 การเห็นคุณค่าของความแตกต่าง
- เล่นเลียนแบบและแสดงความชื่นชมวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่แตกต่างไปจากตน (3 ปี)
- บอกได้ว่าบุคคลแต่ละคนมีความเหมือนและความต่าง (4 ปี)
- ถามคำถามเกี่ยวกับคำที่ใช้หรือความเป็นอยู่ หรือลักษณะของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน (5 ปี)

(3) พัฒนาการด้านอารมณ์ 

 ความคิดเกี่ยวกับตนเอง
- บอกความรู้สึกรักและผูกพันกับพ่อแม่และคนใกล้ชิด (3 ปี)
- บอกได้ว่าตนเองชอบ หรือไม่ชอบ สิ่งของและ/หรือกิจกรรมใด (4 ปี)
- บอกความรู้สึกหรือแสดงพฤติกรรมไม่สบายใจ  (5 ปี)
 การควบคุมอารมณ์ตนเอง
ไม่แสดงอาการหงุดหงิดจนเกินไปเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ยาก (3 ปี)
 สมรรถนะของตนเอง
- แสดงความดีใจโดยท่าทางหรือวาจาเมื่อทำอะไรได้หรือสำเร็จ (3 ปี)
- อาสาที่จะทำกิจกรรมเพื่อแสดงความสามารถของตน (4 ปี)
- บอกได้ว่าตนเองมีความสามารถในเรื่องใด (5 ปี)

(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา

ความจำ
- ท่องคำคล้องจองหรือคำกลอนสั้น ๆ ได้ (3 ปี)
- บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ (4 ปี)
- ฟังนิทานแล้วเล่ารายละเอียดได้ถูกต้อง  (5 ปี)
 การสร้างหรือพัฒนาความคิด
- ถามว่า “อะไร” และ “ที่ไหน” (4 ปี)
- บอกได้และใช้คำว่า “เมื่อวานนี้” “วันนี้” “พรุ่งนี้” อย่างถูกต้อง (5 ปี)
 ตรรกวิทยาและความมีเหตุผล
- บอกเหตุผลเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตร  (3 ปี)
- ถามว่า “ทำไม” และ “อย่างไร” เช่น ทำไมน้ำเกาะที่ข้างแก้ว (4 ปี)
- เปรียบเทียบความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการกระทำต่างกับสิ่งเดียวกัน (5 ปี)
 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- จัดกลุ่มสิ่งของตามประเภทโดยใช้เกณฑ์เดียวในการจัด (3 ปี)
- จัดกลุ่มสิ่งของตามประเภทลักษณะ 2 เกณฑ์  (4 ปี)
- บอกความคิดของตนเดี่ยวกับสภาพหรือลักษณะที่พบ (5 ปี)
ความตั้งใจจดจ่อ
- เปิดหนังสือดูภาพ 3 – 5 นาที โดยมีผู้ใหญ่ช่วยเหลือ (3 ปี)
- เปิดหนังสือดูภาพด้วยตนเอง 5 – 10 นาที หรือจนจบ (4 ปี)
- เปิดหนังสือดูภาพด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องนาน10 – 15 นาที หรือจนจบ (5 ปี)
 การคิดด้านคณิตศาสตร์
- พูดคำว่า 1 ถึง 10 เรียงลำดับได้(3 ปี)
- อ่านตัวเลข 1 ถึง 10 ได้ (ตัวเลขอารบิค) (4 ปี)
- หักลบโดยนับนิ้วหรือสิ่งของออกจากจำนวนไม่เกิน 10 ได้ (5 ปี)
 ความเข้าใจปรากฏการณ์ และวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
- บอกชื่อต้นไม้ต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 3 ชื่อ (4 ปี)
- บอกชื่อผักต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 3 ชื่อ (5 ปี)
- บอกความสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอื่น ๆ  (5 ปี)
 สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
- บอกได้ถึงการแปรสภาพของน้ำ เช่น น้ำแข็งละลายเป็นน้ำ  (4 ปี)
- บอกได้ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น เมื่อนำของอย่างน้อย 2 สิ่งผสมกัน (5 ปี)
 ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
ครอบครัว
- ใช้คำที่ถูกต้องในการเรียกสมาชิกภายในครอบครัว เช่น ปู่ ยา ตา ยาย  (3 ปี)
- เล่าถึงการมีส่วนร่วมในกิจวัตรของครอบครัวให้ผู้อื่นฟังได้ (4 ปี)
- บอกได้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว (5 ปี)
 ชุมชนและสังคม
- บอกได้ว่าตนเป็นคนไทย พูดภาษาไทย หรือภาษาท้องถิ่น (4 ปี)
- บอกวันสำคัญของชาติ อย่างน้อย 2 วัน (5 ปี)

(5) พัฒนาการด้านภาษา 

 การเข้าใจและการใช้ภาษา
- เลือกใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เช่น แปรงฟัน  (4 ปี)
- บอกคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น หมา กับ สุนัข (5 ปี)
 การเข้าใจและการใช้ภาษา (การเรียงคำให้เป็นประโยค)
- พูดเป็นประโยคที่มี 3 – 4 คำเช่น หนูจะหาแม่ / จะกินข้าว  (3 ปี)
- พูดเป็นประโยคที่มี 5 – 6 คำขึ้นไป เช่น แม่ไปซื้อของที่ตลาดนัด (4 ปี)
- อธิบาย เล่าเรื่องต่อกันตามลำดับเหตุการณ์ (5 ปี)
 ความเข้าใจและการใช้ภาษา (ด้านความเข้าใจภาษา)
- ทำตามคำสั่งได้ เช่น เอาถ้วยไปไว้ในอ่าง หยิบเสื้อมาให้แม่ (3 ปี)
- จับใจความเมื่อได้ฟังนิทานหรือเรื่องเล่า และเล่าต่อได้ด้วยคำพูดของตนเอง (5 ปี)
 การสื่อความหมาย (ด้านการพูด)
- ฟังนิทานได้นาน 5 นาที (3 ปี)
- ชอบฟังนิทานและพูดถึงบางตอนที่ชอบเป็นพิเศษบ่อย ๆ (4 ปี)
- พูดชัดถ้อยชัดคำ และอาจออกเสียงไม่ชัดในเสียง “ส” “ร” (5 ปี)
 การสื่อความหมาย (ด้วยท่าทาง และสัญลักษณ์)
- ทำท่าทางต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมาย เช่น ยิ้มทักทาย ส่ายหน้าเพื่อปฏิเสธ (3 ปี)
- บอกความหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สัญญาณจราจร  (4 ปี)
 การอ่าน
- หยิบหนังสือมาพลิกดู และทำท่าอ่านหนังสือ (3 ปี)
- บอกได้ว่าตัวใดเป็นตัวเลขและตัวใดเป็นตัวหนังสือ (4 ปี)
- อ่านออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ (5 ปี)
 การเขียน
- ขอให้ผู้ใหญ่เขียนคำที่ต้องการให้ดู (4 ปี)
- เขียนคำง่าย ๆ ตามต้นแบบ ที่เห็นด้วยตนเอง เช่น เส้นตรง (5 ปี)
- เขียนคำง่าย ๆ ตามต้นแบบ เช่น แม่ กา งู    (5 ปี)

(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม

การมีวินัยในตนเอง
- ให้ความร่วมมือในการทำกิจวัตรเพื่อให้ไปโรงเรียนทัน (3 ปี)
- แสดงความรับผิดชอบเช่น จัดเรียงรองเท้า (4 ปี)

 การพัฒนาเกี่ยวกับความรู้ผิดชอบชั่วดี
- ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตน เช่นเก็บของเพื่อนได้เอาไปคืนเพื่อน  (3 ปี)
- พฤติกรรมหรือภาษาที่สะท้อนความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (4ปี)
- ภูมิใจและเลือกที่จะทำในสิ่งที่ดี เช่น ช่วยแม่ทำงานบ้าน พูดจาไพเราะ  (5 ปี)


(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์


ศิลปะการแสดงดนตรีและการเต้นตามดนตรี
- ร้องเพลงพร้อมกับเพื่อนหรือผู้ใหญ่ ร้องเพลง (3 ปี)
- บอกได้ว่าเพลง 2 เพลงจังหวะต่างกัน เช่น เพลงช้า เพลงเร็ว (4 ปี)
- สร้างทำนองเพลงและเนื้อเพลงเองได้ หรือใช้ทำนองที่รู้จักแต่งเนื้อใหม่ (5 ปี)

 ศิลปะการแสดง (การละคร)
- ทำเสียงหรือท่าทางเลียนแบบตัวละคร เช่น เป็นสัตว์ / คน (3 ปี)
- พูดและแสดงบทบาทสมมติโดยมีผู้ใหญ่ช่วย (4 ปี)
- พูดและแสดงบทบาทสมมติต่อหน้าผู้ชมด้วยตนเอง (5 ปี)

 ศิลปะการแสดง (ทัศนศิลป์)
- นำผลงานทัศนศิลป์ของตนให้ผู้อื่นดูอย่างภาคภูมิใจ (3 ปี)
- บอก / ชี้ได้ว่าสีใดเป็นสีอ่อนและสีใดเป็นสีเข้ม (4 ปี)
- วาดหรือปั้นหรือประดิษฐ์หรือพับ กระดาษตามจินตนาการ(5 ปี)

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 08.30-11.30 น.


กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ

เนื้อหาที่เรียน - ความรู้ที่ได้รับ

- อาจารย์แนะแนวการเรียนการสอน ว่าต้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง 
- อาจารย์ให้นักศึกษายืดเส้นยืดสาย ในการสอนเด็กปฐมวัยขั้นเบื้องต้นคือ เราจะต้องใช้ท่าทางที่ไม่ไปทางกายบริหารมากเกินไป ใช้ท่าทางที่ให้นักเรียนปฐมวัยได้เกิดทักษะการคิด และมีส่วนในการพัฒนาส่วนต่างๆได้อย่างถูกต้อง
- อาจารย์ให้นำเสนอทักษะ ท่าทางที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายแบบเคลื่อนที่ เช่น เดินสไลด์ เป็นต้น
- อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมโดยฟังเสียงสัญญาน ในการสอนนั้นเรานำไปสอนเด็กปฐมวัยเราจะต้องใช้กติกาที่เข้าใจง่ายเช่น เคาะ1 ครั้งให้นักเรียนเดินช้าๆ เคาะ 2 ครั้งให้นักเรียนวิ่งๆ เคาะ 3 ครั้งให้นักเรียนวิ่งมาหาคุณครู จะทำให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิดและการฟังสัญญาณเสียง พร้อมกับมีสมาธิ

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน






















ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อนในห้อง
ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ไม่ส่งเสียงดังรบกวน 
ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมแผนการสอนมาล่วงหน้า มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น